วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

ข้อกำหนดที่ 4. บริบทขององค์กร (Context of the organization) - ตอนที่ 3


ข้อกำหนด 4.3  การกำหนดขอบข่ายระบบบริหารคุณภาพ



4.3  การกำหนดขอบข่ายระบบบริหารคุณภาพ

องค์กรต้องพิจารณาขอบเขต  และการนำระบบบริหารคุณภาพไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำขอบข่าย

ในการกำหนดขอบข่าย  องค์กรต้องพิจารณาถึง
          a)    ประเด็นภายนอกและภายใน  ตามข้อ 4.1
          b)    ข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามข้อ 4.2
         c)     ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร

องค์กรต้องทำการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ในกรณีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้  ในขอบข่ายของระบบบริหารคุณภาพที่ได้พิจารณา

ขอบข่ายของระบบบริหารคุณภาพขององค์กรต้องมีพร้อมอยู่ และได้รับการธำรงรักษาเป็นเอกสารสารมนเทศ  ขอบข่ายต้องระบุ  ชนิดของผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุม  และให้ถ้อยแถลงสำหรับการละเว้นข้อกำหนดใด ๆ ของข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้  ที่องค์กรพิจารณาว่าไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในขอบข่ายการรับรองระบบบริหารคุณภาพ

การสอดคล้องกับมาตรฐานสากลฉบันนี้ อาจใช้อ้างได้ในกรณีที่  ข้อกำหนดที่พิจารณาว่าไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ไม่มีผลกระทบต่อความสามารถหรือความรับผิดชอบในการทำให้มั่นใจความสอดคล้องข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และบริการ  และการทำให้ได้มาที่ซึ่งความพึงพอใจลูกค้า


การตีความข้อกำหนด 4.3 นี้   ขอแบ่งเป็นกรณีดังนี้นะคะ

กรณีที่ 1 องค์กรที่ยังไม่เคยได้รับการรับรอง ISO9001
             การกำหนด scope หรือ ขอบเขตในการขอรับรอง  จะต้องคำนึงถึงผลการวิเคราะห์ในข้อ 4.1 และ 4.2 รวมทั้งผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรเองด้วยค่ะ  แปลกันอีกทีให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ  องค์กรใดที่จะขอการรับรองเพียงแค่บางส่วน บางแผนก หรือ บางโรงงานย่อย ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงงานใหญ่ ก็อาจจะไม่ได้แล้วค่ะ
>>>> “อาจจะไม่ได้” หรือ “อาจจะได้” นั้น ขึ้นอยู่กับ ขอบเขต หรือ scope ที่จะขอรับรองนั้น 
Ø  ครอบคลุมผลการวิเคราะห์ประเด็นภายนอก/ภายใน  หรือไม่
Ø  ตอบสนองต่อข้อกำหนด/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ครบถ้วนหรือไม่
Ø  ครอบคลุมกระบวนการทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการ ทุกกระบวนการหรือไม่

กรณีที่ 2 องค์กรที่ได้รับการรับรอง ISO 9001:2008 แล้วจะ upgrade เป็น ISO 9001:2015
            องค์กรในกลุ่มนี้ก็ต้องสำรวจก่อนนะคะว่า ภายใต้ขอบเขต (scope) เดิม 
Ø  เรามีการดำเนินงานที่เปลี่ยนแปลงไป    แล้วมีผลกระทบต่อการขอรับรองหรือไม่ เช่น  อยากจะ เพิ่ม scope  หรือ ลด scope 
Ø  Scope เดิม  ครอบคลุม  ผลการวิเคราะห์ของข้อกำหนด 4.1 , 4.2 , ผลิตภัณฑ์และบริการของเราหรือยัง  ถ้าครอบคลุมแล้วก็สามารถใช้ scope เดิมได้เลยค่ะ

ทั้ง 2 กรณีนี้ นอกจากจะต้องระบุ scope แล้ว  ยังต้องระบุข้อกำหนดที่ขอยกเว้นด้วยค่ะ  และต้องจัดทำเป็นเอกสารสารสนเทศนะคะ   หากมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อ scope ก็ย้อนกลับไปพิจารณาความเหมาะสมกันใหม่ค่ะ

ทั้ง scope และ ข้อกำหนดที่ยกเว้น  ก็จับไประบุไว้ใน คู่มือคุณภาพ ก็ได้ค่ะ


ส่วนมุมมองของ Auditor ที่ตรวจ ก็คงต้องมองหาหลักฐานเหล่านี้ค่ะ
·       ดูว่า scope และ ข้อกำหนดที่ยกเว้น  เป็นจริงและสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ในข้อกำหนด 4.1 , 4.2 หรือไม่
·       มีการระบุ scope และข้อกำหนดที่ยกเว้น เป็นเอกสารสารสนเทศ > ได้รับการอนุมัติหรือไม่ > ประกาศไว้วันที่เท่าไหร่

ตามนี้ค่ะ........บทความตอนหน้าเป็นข้อกำหนดสุดท้าย 4.4 ค่ะ .......เอกสารสารสนเทศจะเกิดขึ้นมาอีกเพียบเลยค่ะ


ขอบคุณค่ะ ^-^

สุกัญญา มีบุศยวัสส์ (อ้อ)
Consultant and Trainer
BSM Solutions Limited Partnership

086-145-3665
bsm.solm@gmail.com
FB: sukanya meebusayawas

ข้อกำหนดที่ 4. บริบทขององค์กร (Context of the organization) - ตอนที่ 2


     
   ข้อกำหนด 4.2  ความเข้าใจความจำเป็น และคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง



4.2  ความเข้าใจความจำเป็น และคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
เนื่องจาก ผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบ   ต่อความสามารถขององค์กรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการ  ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดลูกค้า  และข้อกำหนดของกฎหมาย รวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ   องค์กรต้องทำการพิจารณา :
            a)    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณภาพ   และ
            b)    ข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง กับระบบบริหารคุณภาพ
องค์กรต้องเฝ้าติดตามและทบทวนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง


ในข้อกำหนด 4.2 นี้  คงต้องมาทำความรู้จักกับคำว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย”หรือ “Interested Party”  กันก่อนนะคะ
หมายความตามนี้ค่ะ   “บุคคลหรือองค์กร  ที่สามารถทำให้เกิดผลกระทบ  หรือได้รับผลกระทบ  หรือเชื่อว่าตัวเองได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจ หรือกิจกรรมนั้น ๆ

ตามข้อกำหนดนี้แล้วองค์กรต้องทำอะไรบ้างหนออออ.....เอ้ามาเริ่มกันเลยละกันนะคะ
·         องค์กรต้องกำหนดผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกค่ะ  จากนั้นก็ต้องระบุความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียนั้นนะคะ
·         ส่วนที่มาของ “ข้อกำหนด” หรือ “ความคาดหวัง” ที่องค์กรต้องระบุนั้น  ก็ได้มาจากการสอบถาม – ตรวจสอบ – พบปะ กับตัวเป็น ๆ ของผู้มีส่วนได้เสียนั้น ๆ หรืออาศัยช่องทางอ้อมโดยผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์  หรือติดตามจากข่าวสารต่าง ๆ ก็ได้ค่ะ

1.     ข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กรและความคาดหวัง   ตามตัวอย่างด้านล่างนะคะ
ผู้มีส่วนได้เสีย
ข้อกำหนด / ความคาดหวัง
1.   ลูกค้า
-  สินค้าที่มีคุณภาพ
-  Delivery 100 % (รอบเช้า 09.00น. , รอบบ่าย 14.00น.)
-  ส่ง COA ทุก Lot
-  ผลการประเมิน supplier ต้องไม่ต่ำกว่าเกรด B
2.   Supplier / Outsource
-  สั่งซื้อตาม MOQ (minimum order quantity)
-  ต้อง approved PO ก่อนสั่งซื้อทุกครั้ง
-  เครดิต 30 วัน
3.   BOI
-  ต้องได้รับการรับรอง ISO ภายใน  2 ปี
-  สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ
4.   การนิคมอุตสาหกรรม
-    
5.   องค์การบริหารส่วนตำบล
-    
6.   องค์กรบริหารส่วนจังหวัด
-    
7.   สมาคมที่องค์กรเป็นสมาชิก
-    
8.   ธนาคาร/ ผู้ให้บริการทางการเงิน
-    
9.   ผู้รับประกันภัย
-    
10. คู่แข่งทางธุรกิจ
-    
11. รัฐบาล
-    

2.     ข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรและความคาดหวัง   ตามตัวอย่างเลยค่ะ
ผู้มีส่วนได้เสีย
ข้อกำหนด / ความคาดหวัง
1.     พนักงาน
-  สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
-  มีโอกาสในการฝึกอบรมเพิ่มทักษะ
-  การมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
-  โอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน
2.     หุ้นส่วน / ผู้ถือหุ้น / เจ้าของธุรกิจ
-  การเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
-  ชื่อเสียง / ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
-  มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี
3.     สหภาพแรงงาน
-  สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ปลอดภัย ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
-  สวัสดิการที่เหมาะสม
-  ความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดี
4.     ผู้รับเหมาแรงงาน
-  โอกาสในการบรรจุเป็นพนักงานประจำ
-  ค่าตอบแทนที่เหมาะสม
-  สวัสดิการที่เหมาะสม
5.      
-   
6.      
-   
7.      
-   


เมื่อเราทราบแล้วว่า  ผู้มีส่วนได้เสียและความคาดหวังของเค้าเหล่านี้ มีอะไรบ้าง  องค์กรก็ต้องนำสิ่งเหล่านี้ค่ะมาแปลงเป็น “นโยบายคุณภาพ” “เป้าหมายคุณภาพ”  หรือ “กิจกรรม” ต่าง ๆ ที่จะให้ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับการนำไปทำให้เป็นจริงขึ้นมาจนได้ค่ะ

แต่สิ่งที่องค์กรลืมไม่ได้ก็คือ ต้องกำหนดความถี่ในการทบทวน การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียด้วยนะคะ  จะได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด 4.2 นี้ค่ะ


ส่วนมุมมองของ Auditor ที่ตรวจ ก็คงต้องมองหาหลักฐานเหล่านี้ค่ะ
·       หลักฐานการระบุและวิเคราะห์ ข้อกำหนด/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
·       นโยบายคุณภาพ และเป้าหมาย  ที่สอดคล้องกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้างต้น
·       อย่างสุดท้ายก็คงต้องดูว่าองค์กรกำหนดความถี่ในการทบทวนเอกสารสารสนเทศในข้อ 4.2 อย่างไร ระบุไว้ที่ไหนค่ะ

เอิ่มมมม...เอกสารสารสนเทศค่อย ๆ จัดเต็มกันขึ้นมาเรื่อย ๆ นะคะ....ไว้เจอกันในบทความตอนหน้านะคะ


ขอบคุณค่ะ ^-^

สุกัญญา มีบุศยวัสส์ (อ้อ)
Consultant and Trainer
BSM Solutions Limited Partnership
086-145-3665