ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงกันหรอกเนอะ
ไปดูตัวอย่างกันเลยค่ะ
เกณฑ์ในการประเมินอ้างอิงจากตอนที่แล้วนะคะ ดูประกอบกันไปด้วยค่ะ
- · วิเคราะห์ปัจจัยภายใน/ปัจจัยภายนอก ให้ใช้ SWOT มาช่วยวิเคราะห์ค่ะ
- · วิเคราะห์ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรค่ะ
- · การวิเคราะห์ในระดับกระบวนการค่ะ เราต้องนำเต่ามาอ้างอิงด้วยนะคะ ขอยกตัวอย่างกระบวนการจัดซื้อละกันนะคะ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้ง
3
ระดับนั้น
ผลการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กรนะคะ เหตุผลง่าย ๆ คือ
แต่ละองค์กรจะมีบริบทต่างกันนั่นเองค่ะ
ในเมื่อบริบทขององค์กรต่างกันจึงทำให้ระดับความเสี่ยงและโอกาสในเรื่องเดียวกันอาจจะมีผลการประเมินไม่เหมือนกันก็ได้
ส่วนมุมมองของ Auditor ที่ตรวจ
ก็คงต้องมองหาหลักฐานเหล่านี้ค่ะ
- · Auditor จะดูความสอดคล้องของผลการวิเคราะห์ – ผลการประเมินใน 3 ระดับ (ปัจจัยภายใน/ภายนอก,ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย,กระบวนการ ว่ามีการจัดการลงไปอย่างไรนะคะ
- · คำถามที่มักจะเจอบ่อย ๆ ก็คือ องค์กรต้องจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสทั้งหลายที่ประเมินมาแล้วเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ มาตรการต่าง ๆ ที่ระบุไว้จะต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อน CB auditor มาหรือไม่
- คำตอบของคำถามนี้ก็คือ
“ไม่ต้องหรอกค่ะ ใครมันจะทำเสร็จได้ทัน
ไหนบางมาตรการจะต้องใช้ทั้ง เวลา ทั้งเงินอีก”
แต่สิ่งที่องค์กรจะต้องทำก็คือ “ต้องรู้ว่ามีความเสี่ยงและโอกาสนั้นอยู่”ค่ะ แบบว่า....มันอยู่ในจิตสำนึกของฉันแล้วนะ
แต่จะเลือกทำมาตรการไหนก่อน ก็ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของบริบทองค์กรก่อนละกัน...ประมาณนี้ล่ะค่ะ
^-^
มาถึงตอนนี้การบ้านเพียบเลยนะคะ ขยัน ๆ กันหน่อยล่ะคะ เส้นตาย...กันยายน
2018….ใกล้เข้ามาทุกทีแล้วนะคะ
ขอบคุณค่ะ
^-^
สุกัญญา
มีบุศยวัสส์ (อ้อ)
Consultant
and Trainer
BSM
Solutions Limited Partnership
086-145-3665
FB :
sukanya meebusayawas
Line
ID : sukanya.mee
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น