วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

ข้อกำหนดที่ 4. บริบทขององค์กร (Context of the organization) - ตอนที่ 3


ข้อกำหนด 4.3  การกำหนดขอบข่ายระบบบริหารคุณภาพ



4.3  การกำหนดขอบข่ายระบบบริหารคุณภาพ

องค์กรต้องพิจารณาขอบเขต  และการนำระบบบริหารคุณภาพไปประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำขอบข่าย

ในการกำหนดขอบข่าย  องค์กรต้องพิจารณาถึง
          a)    ประเด็นภายนอกและภายใน  ตามข้อ 4.1
          b)    ข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามข้อ 4.2
         c)     ผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร

องค์กรต้องทำการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ในกรณีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้  ในขอบข่ายของระบบบริหารคุณภาพที่ได้พิจารณา

ขอบข่ายของระบบบริหารคุณภาพขององค์กรต้องมีพร้อมอยู่ และได้รับการธำรงรักษาเป็นเอกสารสารมนเทศ  ขอบข่ายต้องระบุ  ชนิดของผลิตภัณฑ์และบริการที่ครอบคลุม  และให้ถ้อยแถลงสำหรับการละเว้นข้อกำหนดใด ๆ ของข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้  ที่องค์กรพิจารณาว่าไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในขอบข่ายการรับรองระบบบริหารคุณภาพ

การสอดคล้องกับมาตรฐานสากลฉบันนี้ อาจใช้อ้างได้ในกรณีที่  ข้อกำหนดที่พิจารณาว่าไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ไม่มีผลกระทบต่อความสามารถหรือความรับผิดชอบในการทำให้มั่นใจความสอดคล้องข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และบริการ  และการทำให้ได้มาที่ซึ่งความพึงพอใจลูกค้า


การตีความข้อกำหนด 4.3 นี้   ขอแบ่งเป็นกรณีดังนี้นะคะ

กรณีที่ 1 องค์กรที่ยังไม่เคยได้รับการรับรอง ISO9001
             การกำหนด scope หรือ ขอบเขตในการขอรับรอง  จะต้องคำนึงถึงผลการวิเคราะห์ในข้อ 4.1 และ 4.2 รวมทั้งผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กรเองด้วยค่ะ  แปลกันอีกทีให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ  องค์กรใดที่จะขอการรับรองเพียงแค่บางส่วน บางแผนก หรือ บางโรงงานย่อย ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงงานใหญ่ ก็อาจจะไม่ได้แล้วค่ะ
>>>> “อาจจะไม่ได้” หรือ “อาจจะได้” นั้น ขึ้นอยู่กับ ขอบเขต หรือ scope ที่จะขอรับรองนั้น 
Ø  ครอบคลุมผลการวิเคราะห์ประเด็นภายนอก/ภายใน  หรือไม่
Ø  ตอบสนองต่อข้อกำหนด/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ครบถ้วนหรือไม่
Ø  ครอบคลุมกระบวนการทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการ ทุกกระบวนการหรือไม่

กรณีที่ 2 องค์กรที่ได้รับการรับรอง ISO 9001:2008 แล้วจะ upgrade เป็น ISO 9001:2015
            องค์กรในกลุ่มนี้ก็ต้องสำรวจก่อนนะคะว่า ภายใต้ขอบเขต (scope) เดิม 
Ø  เรามีการดำเนินงานที่เปลี่ยนแปลงไป    แล้วมีผลกระทบต่อการขอรับรองหรือไม่ เช่น  อยากจะ เพิ่ม scope  หรือ ลด scope 
Ø  Scope เดิม  ครอบคลุม  ผลการวิเคราะห์ของข้อกำหนด 4.1 , 4.2 , ผลิตภัณฑ์และบริการของเราหรือยัง  ถ้าครอบคลุมแล้วก็สามารถใช้ scope เดิมได้เลยค่ะ

ทั้ง 2 กรณีนี้ นอกจากจะต้องระบุ scope แล้ว  ยังต้องระบุข้อกำหนดที่ขอยกเว้นด้วยค่ะ  และต้องจัดทำเป็นเอกสารสารสนเทศนะคะ   หากมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อ scope ก็ย้อนกลับไปพิจารณาความเหมาะสมกันใหม่ค่ะ

ทั้ง scope และ ข้อกำหนดที่ยกเว้น  ก็จับไประบุไว้ใน คู่มือคุณภาพ ก็ได้ค่ะ


ส่วนมุมมองของ Auditor ที่ตรวจ ก็คงต้องมองหาหลักฐานเหล่านี้ค่ะ
·       ดูว่า scope และ ข้อกำหนดที่ยกเว้น  เป็นจริงและสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ในข้อกำหนด 4.1 , 4.2 หรือไม่
·       มีการระบุ scope และข้อกำหนดที่ยกเว้น เป็นเอกสารสารสนเทศ > ได้รับการอนุมัติหรือไม่ > ประกาศไว้วันที่เท่าไหร่

ตามนี้ค่ะ........บทความตอนหน้าเป็นข้อกำหนดสุดท้าย 4.4 ค่ะ .......เอกสารสารสนเทศจะเกิดขึ้นมาอีกเพียบเลยค่ะ


ขอบคุณค่ะ ^-^

สุกัญญา มีบุศยวัสส์ (อ้อ)
Consultant and Trainer
BSM Solutions Limited Partnership

086-145-3665
bsm.solm@gmail.com
FB: sukanya meebusayawas

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น