วันนี้มีประเด็นนึงมาเล่าสู่กันฟังค่ะ มีคำถามจากองค์กรแห่งหนึ่งที่ได้รับการรับรองระบบ
ISO/TS
16949 และกำลังจะ upgrade
ระบบ ISO9001 จะต้องดำเนินการอย่างไร
ที่จะครอบคลุมข้อกำหนดทั้งสองระบบ ก่อนจะตอบคำถามนี้ เราไป update ความคืบหน้าของมาตรฐานยานยนต์ตัวนี้กันก่อนค่ะ
ระบบ ISO/TS 16949 ทำอะไรกันไปถึงไหนแล้ว ?
IATF
(เป็นหน่วยงานที่ออก CER. + ข้อกำหนดISO/TS
16949) ได้ออกฉบับร่างมาแล้ว และตั้งใจจะประกาศใช้ภายในสิ้นปีนี้ค่ะ โดยฉบับร่างนี้จะครอบคลุมข้อกำหนด ISO
9001:2015 ทั้งหมด และเพิ่มเติมข้อกำหนดอื่น ๆ อีกค่ะ เช่น การสอบกลับได้ของผลิตภัณฑ์ในด้านกฎหมาย ,
ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของชิ้นงานและกระบวนการผลิต , ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับซอฟแวร์
, การรับประกันผลิตภัณฑ์ (Warranty) และอื่น ๆ
อีกหลายข้อเลยล่ะค่ะ เฮ้อ!!! นั่นหมายความว่างานหนักกำลังจะมาเยือนค่ะ -_-‘
จะ Upgrade ISO 9001 ต้องรอให้ ISO/TS 16949 ประกาศใช้ก่อนดีมั๊ย ?
ในฐานะที่คลุกคลีกับทั้งสองมาตรฐานนี้มานาน ขอตอบอย่างไม่คิดเลยนะคะว่า “อย่ารอเลยค่ะ” Upgrade
9001 ให้เสร็จสิ้นไปก่อนดีกว่าค่ะ
ไม่งั้นความเยอะจะทับถมคนทำระบบจนแทบเงยหน้ากันไม่ได้เลยทีเดียว
เหตุผลอีกอย่างนะคะคือ ทั้งสองมาตรฐานนี้ มีหน่วยงานที่ออก
Certificate
คนละหน่วยงานกัน ต่างคนต่างทำงานค่ะ คือ
·
หน่วยงานที่ออก Cer. ของระบบ ISO/TS
16949 คือ IATF (International Automotive Task Force)
ค่ะ
·
หน่วยงานที่ออก Cer. ของระบบ ISO
9001 คือ Accreditation Body หรือ AB (หน่วยรับรองระบบ เช่น UKAS ของอังกฤษ , NAC ของไทย , JAS-ANZ ของออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
- มาถึงตรงนี้สงสัยมั๊ยละค่ะ
ว่าแล้ว SGS
, TUV , Bureau Veritas , TCL , JQA , NQA
ที่มา audit เราคือใครกันหนอ หน่วยงานรับรองเหล่านี้เรียกว่า Certification Body หรือ CB
ค่ะ เป็นหน่วยงานที่ส่งผลตรวจ และชงเรื่องไปที่ AB ออก Cer. ให้เราค่ะ
แต่ Certificate ทั้งสองมาตรฐานนี้
จะหมดอายุพร้อมกันในเดือนกันยายน 2018 นะคะ เพราะฉะนั้นใครพร้อมก็ upgrade กันได้เลยค่ะ
สำหรับใครที่กำลังมองหา Consult – Trainer ขอแนะนำว่าให้เลือกที่ชำนาญทั้งสองระบบนะคะ เนื่องจากเอกสารหลายตัวในระบบ ISO/TS
16949 สอดคล้องกับ ISO 9001:2015 อยู่แล้ว
จะได้ไม่ต้องทำเพิ่มให้เหนื่อยกันค่ะ
เอกสารอะไรบ้าง ของ ISO/TS 16949:2009 ที่สอดคล้องกับข้อกำหนด ISO9001:2015 ?
เอกสารต่อไปนี้จะเป็นส่วนเพิ่มเติมของ ISO 9001:2015
ที่สอดคล้องกับ ISO/TS 16949:2009 นะคะ จะกล่าวเพียงคร่าว ๆ เนื่องจากแต่ละองค์กรอาจมีชื่อเรียกของเอกสารที่แตกต่างกันไป และมีการจัดทำเอกสารต่าง ๆ กัน ถ้าจะให้ชี้ชัดก็คงต้องลงไปดูหน้างานกันละค่ะ
สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม
|
ISO/TS 16949:2009
|
ISO 9001:2015
|
· ชี้บ่ง Process approach >
Input - Output
|
P
|
P
|
· Customer
specification requirement
|
P
|
P
|
· ชี้บ่ง Outsource ใน business process flow chart
|
P
|
P
|
· การทวนสอบความสามารถของพนักงานวัด
|
P
|
P
|
· Skill map
|
P
|
P
|
· การจัดการทรัพย์สินของลูกค้า
|
P
|
P
|
· การวิเคราะห์ความเสี่ยงของการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์
|
P
|
P
|
· Supplier audit
|
P
|
P
|
· Change control
system
|
P
|
P
|
· Corrective action สำหรับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน
|
P
|
P
|
· Contingency plan
|
P
|
P
|
· การพิจารณาความสามารถขององค์กรในการผลิตและบริการให้สอดคล้องกับข้อกำหนด
(คล้ายๆ กับ Team
feasibility)
|
P
|
P
|
ส่วนรายละเอียดจะกล่าวในข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องนะคะ ^-^
Procedure
ที่บังคับทั้ง 6 เล่ม ใน ISO 9001:2008
จะยกเลิกได้มั๊ย …หรือจะรอให้ ISO/TS
16949 เปลี่ยนเวอร์ชั่นก่อนแล้วค่อยยกเลิก ?
คงจะยังจำกันได้นะคะ ว่า Procedure 6 เล่มนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง.....ก็ประกอบไปด้วยเรื่อง การควบคุมเอกสาร ,
การควบคุมบันทึก , การตรวจติดตามภายใน ,
การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด , การปฏิบัติการแก้ไข ,
การปฏิบัติการป้องกัน ถ้าเป็น ISO/TS
16949 จะเพิ่มเรื่อง การฝึกอบรม เข้ามาอีกเรื่องนึง เป็นเรื่องที่ 7 ค่ะ
จะยกเลิกดีมั๊ย
ก็ข้อกำหนดไม่ได้บังคับให้ต้องมีแล้วนี่....อย่ายกเลิกเลยนะคะ คงไว้อย่างนั้นล่ะค่ะดีแล้ว เหมาะสมแล้ว
ขอตอบคำถามนี้ในมุมมองของคนที่ทำหน้าที่เป็น CB AUDITOR นะคะ ด้วยเหตุผลที่ว่า
1. บุคลากรในองค์กรจะได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันค่ะ ถึงแม้หลงลืมก็สามารถย้อนกลับมาอ่าน procedure
เหล่านี้ได้ > ข้อนี้เป็นประโยชน์ขององค์กรนะคะ
2.
หากไม่มี procedure ของกระบวนการเหล่านี้ซะแล้ว
คนที่เป็น auditor ก็คงต้อง verify หรือทวนสอบ หรือต้องสอบถามกันจนแน่ในว่า กระบวนการเหล่านี้มีวิธีการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
– ปฏิบัติเหมือนๆ กัน ถึงจะปล่อยผ่านประเด็นเหล่านี้ไปได้ค่ะ ผลพลอยได้ที่ตามมาด้วยก็คือ การ audit
จะใช้เวลากระชับขึ้นค่ะ (วัน ๆ นึง auditor คนนึงตรวจหลาย
process ในเวลาจำกัด ก็เล่นเอาแทบแย่เลยล่ะค่ะ)
3.
เป็นหลักฐานในการ audit
ทั้ง 3 audit เลยล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็น การตรวจติดตามภายใน
, การตรวจติดตามโดยผู้มีส่วนได้เสีย ,
การตรวจติดตามโดยผู้ไม่มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
CB Audit ค่ะ
ต้องการหลักฐานที่หยิบจับได้ เพื่อความมั่นใจ แถมยังต้องทำ report เพื่อชงเรื่องให้น่าเชื่อถือต่อไปที่ AB อีกนะซิคะ
4. ถ้าอยากจะยกเลิกจริงๆ
ล่ะก็ แนะนำให้ยกเลิกเรื่อง “การปฏิบัติการป้องกัน” เรื่องเดียวเท่านั้นนะคะ
เพราะว่าข้อกำหนดเรื่องปฏิบัติการป้องกันได้ถูกตัดออกไปแล้วค่ะ แต่ต้องยกเลิกเมื่อข้อกำหนด ISO/TS
16949 เวอร์ชั่นใหม่ได้ประกาศใช้แล้วนะคะ ไม่งั้นอาจโดย CAR จาก CB
(Automotive) auditor กันได้นะคะ
ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนนะคะ ถ้าใครพร้อมก็ลงมือ upgrade
ISO 9001:2015 กันได้เลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
^-^
สุกัญญา
มีบุศยวัสส์ (อ้อ)
Consultant
and Trainer
BSM
Solutions Limited Partnership
086-145-3665
Line
ID : sukanya.mee
FB
: sukanya meebusayawas
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น