5.1 ความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น
5.1.1
ทั่วไป
ผู้บริหารสูงสุดต้องแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ และความมุ่งมั่น ต่อระบบการบริหารคุณภาพโดย
a) เป็นผู้มีภาระรับผิดชอบต่อประสิทธิผลของระบบการบริหารคุณภาพ
b) มั่นใจว่านโยบายและวัตถุประสงค์คุณภาพ
ได้มีกำหนดขึ้นสำหรับระบบการบริหารคุณภาพ และสอดรับ (compatible) กับ ทิศทางกลยุทธ์ และบริบทขององค์กร
c) มั่นใจว่ามีการบูรณาการข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร
d) ส่งเสริมความตระหนักในเรื่องการจัดการเชิงกระบวนการ
และความคิดเชิงความเสี่ยง
e) มั่นใจว่าทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับระบบการบริหารคุณภาพมีอยู่
f) สื่อสารให้เข้าใจถึงความสำคัญของระบบบริหารคุณภาพที่มีประสิทธิผล
และการสอดคล้องตามข้อกำหนดของระบบบริหาร คุณภาพ
g) มั่นใจว่าระบบบริหารคุณภาพบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังไว้
h) ชักนำ อำนวยการและสนับสนุนบุคลากรเข้ามามีส่วนช่วยให้ระบบการบริหารคุณภาพเกิดประสิทธิผล
i) ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
j) สนับสนุนให้ผู้บริหารที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แสดงความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่นในการประยุกต์ใช้มาตรฐานดังกล่าว ในงานที่รับผิดชอบ
หมายเหตุ : อ้างอิงคำว่า
“ธุรกิจ” ตามมาตรฐานสากลฉบับนี้สามารถตีความกว้างหมายรวมถึง กิจกรรมใด ๆ
ที่ซึ่งเป็นหลักของการดำรงคงอยู่ขององค์กร
ไม่ว่าองค์กรจะเป็นภาครัฐ เอกชน สำหรับทำกำไรและไม่ทำกำไร
5.1.2
การมุ่งเน้นลูกค้า
ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ และความมุ่งมั่นกับการเน้นลูกค้า โดยทำให้มั่นใจว่า
a) ข้อกำหนดลูกค้าและข้อกำหนดกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพิจารณาความสอดคล้อง
b) ความเสี่ยงและโอกาสที่สามารถส่งผลต่อความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ และการทำให้ได้มาที่ลูกค้าพึงพอใจได้ รับการระบุและจัดการ
c) มุ่งเน้นเพิ่มความพึงพอใจลูกค้าได้รับการธำรงรักษา
|
5.1.1 ทั่วไป
เป็นภาพรวมหน้าที่ของ
“ผู้บริหาร” ต่อการจัดการองค์กรให้สอดคล้องกับระบบบริหารงานคุณภาพค่ะ
- จะเพิ่มเติมจากข้อกำหนดที่ 5 version เดิม ตรงที่จะวางแผนดำเนินการอะไร เช่นการจั้งนโยบายคุณภาพ , วัตถุประสงค์คุณภาพ ก็ต้องสอดรับกับทิศทางกลยุทธ์ , บริบทขององค์กร , ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย หรือพูดกันง่าย ๆ ก็คือ นำผลจากข้อกำหนดที่ 4 มาเป็นตัวต้นในวางแผนของระบบบริหารงานคุณภาพองค์กรค่ะ
· ผู้บริหารต้องมีการนำข้อกำหนดนี้
ไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตัวเองค่ะ
ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะหวังหรือไม่หวังผลกำไร (เช่น มูลนิธิ , สมาคมต่าง ๆ
เป็นต้น) ก็ตาม ….อุต๊ะ...มันช่างเข้าใจยากเสียจริง....จะพูดให้เข้าใจง่ายที่สุดก็คือ
- หากองค์กรเป็นโรงงานการผลิตชิ้นส่วนอะไรบางอย่าง ก็คงต้องมีการชี้บ่งกระบวนการ , นโยบายคุณภาพ , KPI , Procedure , WI หรือเอกสารสารสนเทศที่เกี่ยวข้องที่เป็นไปในแนวทางการผลิต
- หากองค์กรเป็นธุรกิจบริการ
ก็คงต้องมีการชี้บ่งกระบวนการ , นโยบายคุณภาพ
, KPI
, Procedure , WI หรือเอกสารสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการบริการ
ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าขององค์กรเอง
- หากองค์กรเป็นมูลนิธิ
, สมาคมต่าง ๆ ที่ไม่หวังผลกำไร คงต้องมีการชี้บ่งกระบวนการ
, นโยบายคุณภาพ , KPI , Procedure , WI หรือเอกสารสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งมูลนิธิ
, สมาคม นั้น ๆ ขึ้นมา
หรือจะพูดให้ง่ายเข้าไปอีก นั่นก็คือ เวลาที่เอา procedure
หรือ ตัวอย่างเอกสารขององค์กรอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ ก็ให้ดูนิดนึงด้วยว่าตัวอย่างเอกสารนั้น ๆ
เกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กรเราหรือไม่
มิฉะนั้นจะตายน้ำตื้นเวลา CB audit นะคะ (
จากประสบการณ์ audit เคยเจอมาเองเลยค่ะ...อิอิ)
· ผู้บริหารต้องนำเรื่องการจัดการเชิงกระบวนการ
, ความคิดเชิงความเสี่ยง มาประยุกต์ใช้ตามที่ข้อกำหนดนี้ค่ะ นั่นนก็คือเอกสาร สารสนเทศที่เกิดขึ้นในข้อ 4 และข้อ 6 ค่ะ
· ทรัพยากรต่าง
ๆ ที่องค์กรคิดว่าจำเป็น ไม่ว่าจะเป็น M ไหนจาก 4M
ก็ต้องมีให้พอที่จะดำเนินการได้
· หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติก็คือ
เรื่องของการสื่อสารค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
นโยบายคุณภาพ , ผล KPI ,
ผลการดำเนินการขององค์กรว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ >>>> ตรงนี้ไม่ใช่แค่ผล KPI ได้ตามเป้าหมายหรือเปล่านะคะ แต่ต้องดูด้วยว่าเป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่
, เป็นไปตามแผนธุรกิจหรือไม่ ด้วยนะคะ
· นอกจากนี้ผู้บริหาร
อาจส่งกิจกรรมต่าง ๆ เช่น QCC , Kaizen , Suggestion หรือกิจกรรมอื่น ๆ
เป็นปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยนะคะ
· สุดท้ายผู้บริหารก็ต้องชักชวน
อำนวยการ สนับสนุนบุคลากรให้มาช่วยกันดำเนินระบบบริหารงานคุณภาพในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
>>> ข้อนี้ถือว่าแสบสุด
ๆ ค่ะ เพราะผู้บริหารเปรียบเป็นเสาหลักของบ้าน
ในการจัดทำ และรักษาระบบ ไม่ใช่คอยขัดให้ระบบต้องสะดุด หากท่านผู้บริหารทั้งหลายได้เข้ามาอ่านบทความนี้ ขอบอกไว้ตรงนี้เลยนะคะว่า ตัวทำลายระบบ ISO ได้ดีที่สุดและพบบ่อยที่สุดก็คือผู้บริหารนี่ล่ะค่ะ
อยากกระซิบนิดนึงว่า เป็นผู้บริหารสูงสุดด้วยค่ะ (เราไปข้อต่อไปเลยนะคะ
เสียวสันหลังวาบแล้วล่ะค่ะ ^-^)
5.1.2 การมุ่งเน้นลูกค้า
ดำเนินการตามนี้นะคะ
1) นำข้อกำหนดของลูกค้า
กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเรา มาขึ้นทะเบียนบังคับใช้ภายในองค์กรให้เรียบร้อยค่ะ
·
หากเป็นองค์กรที่อยู่ในสายยานยนต์และทำระบบ
ISO/TS
16949 ก็จัดทำ customer specific requirement กันให้รู้แล้วรู้รอดไปค่ะ >>> เป็นการนำเอา
supplier manual มาสรุปว่าลูกค้าต้องการอะไร เช่น ค่า Cp , Cpk , Pp , Ppk , การใช้ SPC ในการควบคุมการผลิต , แบบฟอร์มที่ลูกค้าบังคับใช้
, ระยะเวลาการจัดเก็บเอกสาร , เงื่อนไขการส่งมอบ เป็นต้นค่ะ
2) ประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้า >>> องค์กรต้องประเมินความเสี่ยงและโอกาส
ที่เกี่ยวข้องกับ production process และ support
process ที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ
เพื่อนำมาตั้งรับและกำจัดให้หมดไป
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ทำเพื่อความพึงพอใจของลูกค้าสูงสุดค่ะ
ส่วนมุมมองของ Auditor ที่ตรวจ
ก็คงต้องมองหาหลักฐานเหล่านี้ค่ะ
· นโยบายคุณภาพ
, KPI
ที่สอดคล้องกับผลของข้อกำหนดที่ 4
· หลักฐานการสนับสนุนแนวทางของ
process
approach , การวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส รวมทั้งการจัดการ
· หลักฐานข้อกำหนดของลูกค้า , กฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ขององค์กร
· ผลการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่กระทบกับลูกค้า
พบกันใหม่ในตอนสุดท้ายของข้อ
5
นะคะ
ขอบคุณค่ะ
^-^
สุกัญญา
มีบุศยวัสส์ (อ้อ)
Consultant
and Trainer
BSM
Solutions Limited Partnership
086-145-3665
E-mail : sukanya.mee@gmail.com ,
bsm.soln@gmail.com
FB :
sukanya meebusayawas
Line
ID : sukanya.mee
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น